วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บริหารธุรกิจ





คณะบริหารธุรกิจ มีประวัติและวิวัฒนาการควบคู่กับมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด
 โดยได้จัดตั้งพร้อมกับการสถาปนา “วิทยาลัยไทยสุริยะ” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513
ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2515 วิทยาลัยไทยสุริยะ ได้รับพระราชทานนามใหม่
จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “วิทยาลัยศรีปทุม” พร้อมทั้ง
ทรงพระกรุณาให้ความหมายชื่อวิทยาลัยว่า “วิทยาลัยศรีปทุม” มาจากคำว่า
“ศรี” กับ “ปทุม” มีความหมายว่า “เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว”
และกระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อวิทยาลัยศรีปทุม
เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2515 ด้วยผลงานของการพัฒนาด้านต่าง ๆ 
และปณิธานที่แน่วแน่มั่นคง ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทเป็น
“มหาวิทยาลัยศรีปทุม” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2530   


 
             คณะบริหารธุรกิจเดิมใช้ชื่อว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญช
ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการสอนเป็นครั้งแรกในหลักสูตรประกาศนียบัตร 
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด
เมื่อปี พ.ศ. 2513 ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะบริหารธุรกิจ
หลังจากที่ได้รับอนุมัติ ิให้เปลี่ยนเป็นประเภทมหาวิทยาลัยแล้ว 
คณะบริหารธุรกิจได้รับอนุมัติจากทบมหาวิทยาลัยให้เปิด ดำเนินการหลักสูตร
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร และสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
ในปี พ.ศ. 2530 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม ในปีการศึกษา 2531 



สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศในปีการศึกษา 2532 
และสาขาวิชาการบริหารงานบุคคล ในปีการศึกษา 2534
และได้รับอนุญาติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้แก้ไขชื่อหลักสูตรบริหารธุรกิจ 
และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบริหาร 
เป็นสาขาวิชาการจัดการในปี พ.ศ. 2534 และจากสาขาวิชา
การบริหารงานบุคคล เป็นสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 
ในปีการศึกษา 2541 นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยาย
โอกาสการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น 
มหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติ จากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตร
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตในปี การศึกษา 2530 และได้รับการรับรอง
มาตรฐานการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 รวมทั้งขยาย
การศึกษาของคณะบริหารธุรกิจไปยังวิทยาเขตชลบุรีในปีการศึกษา 2530
โดยได้รับการรับรองวิทยฐานะเช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน 

 

 

คณะบริหารธุรกิจประกอบด้วย 4 สาขาวิชาคือ

 

-   การจัดการ 

-   การตลาด 

-   การบัญชี 

-   คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 

 

 

 

 

ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน

     มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาก่อตั้งขึ้นโดย คุณพ่อจรูญ คุณแม่หทัย  ศิริวิริยะกุล
และคณะผู้บริหารโรงเรียนในเครือวิริยาลัย ร่วมกับคณะผู้บริหาร
ในกลุ่มบริษัทธุรกิจในเครือกว่า 20 บริษัท รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง 
ทั้งในวงงานราชการและธุรกิจเอกชน และนักวิชาการระดับชาติ
เพื่อสนองความศรัทธาของชุมชนและความปรารถนาของท่านผู้ปกครอง 
ศิษย์เก่าชาววิริยาลัย ตลอดจนเยาวชนและประชาชนทั่วภูมิภาค
ในการสืบสานสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่สมบูรณ์แบบ 
จากรากฐานเดิม ในการผลิตทรัพยากรบุคคลระดับอนุปริญญา 
ของโรงเรียนในเครือวิริยาลัย คือ โรงเรียนพณิชยการวิริยาลัยนครสวรรค์
และโรงเรียนเทคโนธุรกิจวิริยาลัยนครสวรรค์ ซึ่งมีจำนวนนักศึกษากว่า 4,500 คน
และเป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษาแห่งแรก
ของสถาบันอาชีวศึกษา เอกชนทั่วประเทศ
     สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ   มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเป็นหน่วยงาน
ในฝ่ายงานวิชาการ ตามแผนภูมิโครงสร้างการบริหารงานของ
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ได้รับอนุมัติให้เปิดดำเนินการ จากทบวงมหาวิทยาลัย
ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2541 มีหลักสูตรการศึกษา
คือ ปริญญาตรี 4 ปี  ปริญญาตรี  2  ปี (ต่อเนื่อง)
ปณิธาน
     มุ่งสร้างสรรค์นักศึกษาให้เป็นบุคคลที่กล้าคิด กล้าพูด กล้าแสดง
สมกับเป็นบุคคลคุณภาพ  เพื่อเป็นบัณฑิตอันพึงประสงค์ที่ทุกองค์กรต้องการ
โดยยึดหลักการที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา  ที่จะสร้างคน
ในภูมิภาคและพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงการบริหารจัดการ โดยต้องมีความรอบรู้ 
มุ่งมั่นในการทำงาน เคารพในระเบียบวินัยขององค์กร รักและศรัทธาในงานอาชีพ 
เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 



  

ผู้บริหาร

เงินเดือน  :  ตั้งแต่ 8,500 บาท  จนถึง 300,000 บาท
สัดส่วนระหว่างชายหญิง  :  ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง  เพราะเป็นงานที่ต้อง
ใช้ความละเอียดรอบคอบสูง  และค่อนข้างจุกจิก  แต่เลขานุการ
ในตำแหน่งสำคัญ เช่น เลขานุการองค์กรมักเป็นผู้ชาย
การเริ่มต้น  :  เรียนจบสาขาใดก็ได้  แต่ควรเรียนทักษะด้านเลขาฯเพิ่มเติม
ใช้คอมพิวเตอร์ได้ในระดับดี  หากมีความรู้ภาษาอังกฤษดีจะก้าวหน้ามาก 
และที่สำคัญคือต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
หน้าที่  :  ถ้าเป็นเลขาฯแผนกจะเน้นการจัดการพื้นฐานในสำนักงาน 
แต่เป็นเลขาฯของผู้บริหารจะต้องจัดการเรื่องต่างๆทั้งงานและส่วนตัวให้เจ้า นาย 
บางคนต้องเข้าร่วมประชุมออกงานพร้อมเจ้านายด้วย เลขาฯ
ระดับผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความสามารถสูงทำหน้าที่ไม่ต่างจากมือขวา
ของเจ้านาย  ซึ่งต้องมีไหวพริบ  รู้จักกาลเทศะ และกล้าตัดสินใจ
ความก้าวหน้า  :  โดยตำแหน่งแล้วมักเคลื่อนไหวน้อย 
ความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับว่าเป็นเลขาฯของใคร
ข้อดี  :  มีโอกาสได้เรียนรู้งานหลากหลาย ได้พบปะผู้คนมากมาย
โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงๆ เป็นการเปิดโลก  รู้จักวิเคราะห์นิสัยคน 
เรียนรู้การเข้าสังคมได้หลายระดับ  ทำให้มีโอกาสเปลี่ยนสายงาน
หรือทำธุรกิจของตัวเองได้
ปัญหาในการทำงาน  :  เนื่องจากต้องทำงานใกล้ชิดกับเจ้านาย
จึงต้องปรับตัวสูงเพื่อให้ทำงานร่วมกัน ได้ดี  และยังต้องมีวิธี
จัดการกับปัญหาและผู้คนอย่างฉลาดและรวดเร็ว  เนื่องจากต้องประสานงาน
กับบุคคลจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา
อคติทางเพศ  :  มีน้อยมาก